สัมผัส DUCATI Monster M696+
นับตั้งแต่ได้ลอง Honda Hornet 600 ไปคราวก่อนโน้นนนนนนน...... ผมก็แทบไม่มีโอกาสขี่รถสไตล์ Naked อีกเลยมาคราวนี้ปะเหมาะเคราะห์ดีได้ลองของใหม่ จากรถเชลยที่ทาง Ducati Thailand จัดหามาให้เราชาวสามเกลอหัวแข็งได้ลองของในสนาม แถมยังได้พ่วงท้ายที่ผมได้จับเป็นรถครูฝึกช่วงที่ไปแนะนำการขับขี่ที่ภูเก็ตอีกหลายชั่วโมง... การเขียนเรื่องของ 696 ครั้งนี้เลยทำให้ผมได้มุมมองหลายๆอย่าง กับมัน โดยในส่วนของเทคนิคของมันนั้นคงไม่มีอะไรมากนักเพราะเอกสารทางเทคนิคจาก Ducati Thailand ที่ให้ผมมาเนื้อหานั้นค่อนข้างครบแล้ว ผมจึงแค่นำมาถ่ายถอดเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับตัวรถเพื่อให้แฟนๆ Scoop พิเศษ ได้เก็บไว้เป็นข้อมูลประกอบเพิ่มเติม แต่ส่วนที่เป็นจุดประสงค์จริงๆของ Scoop คราวนี้คือความรู้สึกที่ได้จากการขับขี่ของพวกเรา 3 เกลอว่าเรารู้สึกอย่างไรกับมันจริงๆมากกว่า
และสุดท้ายก่อนที่จะเข้าไปดูเนื้อหาผมต้องขอขอบคุณ Ducatisti (Ducati Thailand) ที่ได้หลงคารมพวกผมให้ทั้งเอกสารและรถมาเพื่อการนี้ และอีกท่านหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ คุณนก Ducati กลุ่ม SNAIL LINE ที่ได้เอื้อเฟื้อ M696 ท่อสูตรในวันที่เราลงไปภูเก็ตด้วยครับ
“Less-is-More”
Ducati Monster เปิดตัวครั้งแรกในงานมอเตอร์โชว์เมืองโคลจญ์ ประเทศเยอรมันนีปี 1992 ในช่วงเวลาที่กระแสความนิยมยังคงอยู่ที่รถสปอร์ตสไตล์รถแข่งสนาม สำหรับ Ducati Monster ทีมออกแบบได้คิดนอกกรอบ สวนทางกับความนิยมในช่วงนั้น เน้นการออกแบบที่ดูไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย ขับขี่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการขับขี่สูงมากนัก
สำหรับโมเดล 2009 ทีมออกแบบใหม่นี้ได้ใช้้วลี “Less-is-More” เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบรถที่ดูเรียบง่ายเช่นต้นตระกูลใน M 900 แต่ดีไซน์ภายนอกต้องสะดุดตาจี๊ดจ๊าดกว่าเดิม การใช้งานต้องเป็นรถที่ขับขี่ได้ง่าย เบานั่งต้องไม่สูงมากนัก มีมิติตัวรถใต้เบาะนั่งแคบ ตามด้วยองศาของชุดกันสะเทือนหน้าแค่ 24 องศา แต่ระยะออฟเซ็ทของแฮนด์กว้าง ทำให้มันเป็นรถรถที่พลิกพลิ้วในโค้งได้ง่ายเช่นรถสปอร์ต และก็ต้องซิกแซกในเมืองที่การจารจรหนาแน่นได้ดีด้วย
เครื่องยนต์ L-Twin ขนาด 696 ซีซี. 80 แรงม้า
เครื่องยนต์ของ M696 นั้นได้พัฒนาการต่อยอดมาจากเครื่องของ 695 โดยปรับปรุงเพิ่มแรงม้ามากว่ารุ่นก่อน 9% เป็น 80 แรงม้า HP และเพิ่มแรงบิดขึ้นจากรุ่นก่อน 11% เป็น 7 กิโลกรัม-เมตร การวางเครื่องยังคงเป็นแบบ 2 สูบ L-twin 90 องศา ขับเคลื่อนวาล์วไอดีไอเสีย (2 วาล์ว-สูบ) ด้วยเทคโนโลยี Desmodromic ช่วยให้อัตราเร่งไม่มีการ lag เหมือนรถที่ใช้สปริงวาล์วทั่วไป ส่วนชุดขับราวลิ้นใช้แบบสายพานไทมมิ่งออกแบบไว้ภายนอกฝาสูบช่วยให้การบำรุงรักษางานกว่าระบบโซ่ราวลิ้นที่ฝั่งไว้ภายในเครื่องยนต์
ปลอดภัยด้วยครัชต์ Ducati APTC
ระบบครัชต์ Ducati APTC ( Adler Power Torque Plate Clutch ) ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงบิดสูงๆ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดของชุดครัชต์ ขณะเดียวกันก็ป้องการการเกิด Back Torque หรือแรง Engine brake ที่มากเกินไปจากการลดเกียร์อย่างรวดเร็วซึ่งเป็นอันตรายต่อการขับขี่อย่างมาก โดยการทำงานแล้ว ชุดกลไกของครัชต์จะตัดจากการเกิด Back torque ให้เหลือแค่ 40 % โดยอัตรโนมัติเมื่อมีแรงดึงกลับของเครื่องยนต์ถึงจุดที่กำหนด ระบบ APTC นี้ถูกคิดค้นโดยทีมวิศวกรของ DUCATI และเริ่มนำมาใช้กับรถโปรดักชั่นทั่วไปตั้งแต่ Monster 620 ตั้งแต่ปี 2004
ระบบหัวฉีดอิเลคทรอนิกส์ ขนาดทางเดินไอดี 45 มม.
นอกจากระบบวาล์วแบบ Desmodromic แล้วหัวใจหลักของกำลังเครื่องยนต์คือระบบส่งไอดีของ M696 คือชุดหัวฉีดอิเลคทรอนิกส์ ที่ควบคุมด้วย ECU ของ Siemens พร้อมกับท่อทางเดินไอดีที่กว้างขวางถึง 45มม. ทำให้กำลังที่ได้มากมายถึง 80 แรงม้า
กรองอากาศขนาด 10 ลิตรพร้อม AirDuct
การเพิ่มพลังของเครื่องยนต์นั้นส่วนหนึ่งได้จากปรับปรุงชุดหม้อกรอกอากาสที่มีความจุถึง 10 ลิตร พร้อมช่อง Air Duct บริเวรฝาครอบถังน้ำมันช่วยดึงอากาศเย็นที่มีความหนาแน่นสูงกว่าเข้าได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ ทำให้อัตราเร่งต่อเนื่องและลดแรงต้านการเคลื่อนตัวของลูกสูบในจังหวะดูดไอดี
ระบบระบายความร้อนเป็นแบบ Air Cool ตัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบหล่อเย็นอันเป็นภาระประการหนึ่งของนักขี่ที่ต้องใช้งานในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น แต่ในวันที่อากาศร้อนจัดๆ หากใช้งานในย่านที่รถติดหนักๆ อาจจะมีการเตื่อนเรื่อง
โครงสร้างหลัก ( เฟรม ) แบบ Hybrid-Trellis
เฟรมหลักของ M696 เป็นการต่อยอดจากโครงสร้างแบบ Space Frame ใช้การคำนวณและออกแบบโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ตัววัสดุเป็นโครโมลี่คุณภาพสูงผ่่านการเคลือบผิวหน้าด้วย โครเมี่ยม-โมลิปดินั่ม ส่วนการรับแรงต่างๆนั้น เป็นโครงสร้างแบบเดียวกับที่ใช้ในรถแข่ง Ducati ใน MotoGP มีความแข็งแรงทางโครงสร้างสูง มีน้ำหนักเบา และช่วยเพิ่มพื้นที่การไหลเวียนอากาศบริเวณฝาสูบและเรือนเครื่องยนต์ได้อย่างดี ส่วนชุดซับแฟรมท้ายเป็นอลูมิเนี่ยมหล่อขึ้นรูปน้ำหนักเบา ซึ่งความแข็งแรงทางโครงของทั้งเฟรมหลักและซัปเฟรมนี่เองส่งผลให้ M696 ลดน้ำหนักรวมสุทธิลดลงเหลือเพียง 161 กก.เท่านั้น
ระบบกันสะเทือนหน้า USD 45 มม / หลังช๊อกเดี่ยว Sachs
ระบบกันสะเทือนของ M696 ใช้ของ Showa แบบเทเลสโกปิคหัวกลับ (USD) ขนาด 45 มม. มีระยะยุบตัวที่ 120 มม. ทำงานร่วมกับชุดแผงคอปิกนก และใช้จุดยึดกับแกนช๊อกอัพแบบ Double Clamp ช่วยลดแรงสะเทือนจากล้อหน้าได้อย่างดี ส่วนด้านหลังเป็นโมโนช๊อก ของ Sachs ทำงานร่วมสวิงอาร์มแบบอลูมิเนี่ยมทรงปีกนก สามารถปรับสปริง Pre-load ได้อิสระด้วยเกลียวสปริง
เรือนไมล์ดิจตอลขนาดกระทัดรัด
ชุดเรือนไมล์ของ MONSTER 696 ผู้ผลิตได้เพิ่มเติมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่การขับขี่เข้าไปมากมายเช่นระบบ DDA (Ducati Data Analyser) จากเทคโนโลยีล่าสุดของรถแข่ง Ducati ใน MotoGP ช่วยเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ ผู้ขับขี่สามารถเลือกดูข้อมูลเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องละมือออกจากการควบคุมรถ ใช้แค่นิ้วโป้งซ้ายในการควบคุมการแสดงข้อมูล้เช่น เตือนเรื่องระยะเวลาการเข้ารับการตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุง ความร้อน-น้ำมันเครื่อง ระยะเวลาต่อรอบ ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อรวมกับอุปกรณ์มาตราฐานสัญญานมาตราฐานเช่น เตือนระดับน้ำมันเครื่อง, อุณหภูมิเครื่องยนต์ ฯลฯ ทำให้เรือนไมล์ของ Ducati Monster เป็นเหมือนมอนิเตอร์ที่สามารถตรวจสอบการทำงานของรถได้ตลอดเวลา
ระบบเบรกจาก Brembo ทั้งหน้า-หลัง
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของมอเตอร์ไซค์จาก Ducati ทุกคันก็คือระบบเบรกที่ยอดเยี่ยมจาก Brembo ช่วยในการหยุดรถหรือชลอรถอย่างมั่นใจได้ Monster 696 ได้ติดตั้งระบบเบรกหน้าแบบทวินดิสก์ขนาด 320 มม.และแม่ปั๊มเบรกขนาด 4 ลูกสูบ(ต่อข้าง) โดยใช้แท่นติดตั้งแม่ปั๊บล่างแบบ Redial - Mount เช่นเดียวกับรถสปอร์ตแรงสูงอย่าง 1098 หรือ Desmosedici RR ส่วนเบรกหลักใช้แบบซิงเกิ้ลดีสก์ขนาด 245 มม. แม่ปั๊มเบรกหลังขนาด 2 ลูกสูบ
ระบบกุญแจนิรภัย Immobilizer M 696 ได้ติดตั้งชุดกุญแจเข้ารหัส Immobillizer โดยตัวลูกกุญแจของ เป็นแบบเข้ารหัสเฉพาะคันตัดปัญหาเรื่องการใช้กุญแจผีที่ใช้ในการโจรกรรม ซึ่งเป็นไปตามมาตราฐานข้อกำหนดเรื่องการป้องกันภัยจากการโจรกรรมของยุโรป (อ่านต่อหน้า 2)
|