|
1 ใช้เท้าซ้ายเหยียบพักเท้า |
|
2 ย้ายน้ำหนักที่มากลางเบาะ |
|
3 ใช้มือขวาจับหัวไหล่ |
|
4 เหยียบพักเท้าให้น้ำหนักเท่ากัน |
|
5 ค่อยๆหย่อนก้นลงบนเบาะ |
|
เชื่อว่าคนที่ขับรถมอไซค์เที่ยวเป็นส่วนใหญ่ อยากให้หวานใจคนสนิทซ้อนไปด้วย ถ้าหากพวกเธอเหล่านั้นกล้าพอ เพราะผลดีอย่างหนึ่งคือคุณเธอมักจะทำหน้าที่เป็น"ตัวตัดรอบ" ไม่ให้เราขี่เร็วเกินไป หรือเสี่ยงในลูกที่ไม่น่าเสี่ยง หรือพูดง่ายๆว่า การมีคนซ้อนมีผลดีในเรื่องที่ว่าทำตัวผู้ขับระมัดระวังตัวขึ้น ( ยกเว้นแต่ว่าคนที่ซ้อนคุณนั่น เป็นคนที่คุณอยากสลัดทิ้งเต็มแก่ ฮ่า.....) แต่ถ้าหากผู้ซ้อนของคุณไม่รู้วิธีปฏับัติตัวระหว่างที่ ขึ้นรถ - นั่งซ้อน - หรือลงจากรถ เรื่องง่ายๆ อาจจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมาเยอะแล้ว ผู้ซ้อนท้ายที่มีปัญหา ทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย พอๆ กับคนขี่ที่ "เมา" แล้วขับ ในภาคพิเศษ ตอนที่ 2 ผมจะพูดถึงการเป็นคนซ้อน และวิธีการซ้อนที่ดี ซึ่งถ้าคุณมีโอากาส ลองเอาไปซ้อมตามวิธีเหล่านี้ ให้เกิดความเคยชินจะช่วยให้คุณและคนที่ซ้อนคุณเกิดความมั่นใจได้มากขึ้นว่าต่างฝ่ายต่างไม่เป็นภาระซึ่งกันและกัน
ใครบ้างที่ต้องรู้เรื่องการซ้อนท้าย ? จริงๆ แล้วถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นทุกคนครับ แม้ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ แต่ก็ควรจะฝึกเพราะวันใดวันหนึ่งคุณอาจจะต้องเป็นฝ่ายไปซ้อนคนอื่น โอเค... เรามาเริ่มกันเลย เทคนิคการซ้อนท้ายในพื้นแบ่งออกเป็นเรื่องหลักได้ 3 เรื่องคือ 1.ตอนขึ้นรถ 2.ทรงตัวตอนที่รถวิ่ง และ 3. ตอนที่ลงจากรถ
ภาพที่ ( 1 ) การขึ้นรถ
ให้เราใช้มือซ้ายวางบนไหล่ของผู้ขับขี่ ( จุด 1 ) และใช้มือขวาจับที่พนักจับท้าย หรือวางบนริมเบาะท้าย ( จุด 2 ) ถ้าหากรถคันนั้นไม่มีพนักจับ ใช้เท้าซ้ายวางบนพักเท้าหลัง ( จุด 3 ) จากนั้นถ้าเป็นมือใหม่ให้ถามคนขับว่า โอเค หรือยังจะขึ้นรถแล้ว ถ้าคนขับบอกโอเค ให้ออกแรงจากต้นขาซ้ายที่เหยียบบนพักเท้า แล้วยืดตัวขึ้นตรงๆ ตามภาพที่ ( 2 )
ภาพที่ ( 2 ) ให้ใช้การออกแรงยันตัวจากขาเป็นหลัก
ส่วนมือซ้ายและขวา มีหน้าที่เพียงแค่เสริมความมั่นคง และทำให้ทรงตัวง่ายขึ้นเท่านั้น ห้ามทิ้งน้ำหนักตัวส่วนบนลงบนไหล่ของผู้ขับขี่หรือเบาะท้าย จากนั้นเมื่อยืดตัวขึ้นไปได้แล้ว ให้พักน้ำหนักด้วยการใช้เข่าขวา โดยบิดตะโพกเข้ามาเหนือเบาะซ้อน ตามภาพที่ ( 3 )
ภาพที่ ( 3 ) เมื่อเอาเขาวางบนเบาะได้แล้ว
ให้ย้ายมือขวาไปจับที่หัวไหล่ของผู้ขับขี่ จากนั้นหมุนตัว และตะโพก โดยพยายามให้น้ำหนักอยู่กลางตัวรถให้มากที่สุด เมื่อได้หลักมั่นคงดีแล้ว ก็ย้ายเท้าขวามาเหยียบพักเท้าโดยให้น้ำหนักลงที่เท้าเท่าๆ กัน ตามภาพที่ ( 4 )
ภาพที่ ( 4 - 5 ) ตั้งแต่ตอนขึ้นมาบนรถ
เราจะใช้มือทั้งสองข้างเพียงเพื่อประคองตัวเท่านั้น ห้ามใช้น้ำหนักโถมลงไปบนแขนหรือตัวผู้ขับขี่เด็ดขาด จากนั้นเมื่อรักษาน้ำหนักเท้าทั้งสองข้างให้เท่ากันได้แล้ว ให้ค่อยหย่อนตัวลงนั่ง ( ช้าๆ ไม่ต้องรีบทิ้งก้น )
หนังจากนั่งลงไปที่เบาะแล้ว
ควรจะปรับตำแหน่งก้นกับเบาะให้พอดีก่อน โดยระหว่างนั้น อาจจะใช้มือซ้ายจับถังไว้ก่อน หรือใช้มือขวาจับพนักหูจับที่ด้านท้ายไว้ก่อน จนเมื่อพร้อมแล้วให้บอกผู้ขับขี่ด้วยการตบต้นขาเบาๆ เป็นสัญญานว่าออกรถได้
สำหรับผู้ซ้ายที่มีทักษะด้านการขับขี่ในระดับดีอยู่แล้ว จะเป็นผู้ที่เรียนรู้เรื่องการซ้อนท้ายได้ไม่ยากนัก เพราะหลักของการเป็นคนซ้อนที่ดีก็คือ ทำให้ผู้ขับขี่มีอิสระในการควบคุมรถมากที่สุด หรือเป็นภาระน้อยที่สุด
ภาพ ( 6-7 ) เป็นภาพตัวอย่างที่ผิดระหว่างที่ซ้อนท้าย
ประเภทที่เอามือกอดอก และเอาตัวทั้งตัวอิงหลังคนขี่ แบบนี้อันตรายที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้คนขี่ไม่สามารถขยับตัว เพื่อคุมรถได้ดีแล้ว กรณีที่ต้องเบรกอย่างกระทันหัน คนขี่จะเจ็บ........ และเมื่อยแขนเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าน้ำหนักที่แขนตกไม่เท่ากันสองข้าง โอกาสที่จะเกิดอาการล้อหน้าพับแล้วไถลไปมีสูง
วิธีที่ดีกว่าคือลองเปลี่ยนมาใช้มือทั้งสองข้างอิงถังน้ำมันไว้ ( ภาพที่ 8 ) และเลื่อนตัวออกไปด้านหลังเล็กน้อย ไม่ให้หน้าออกหรือลำตัวเรา ชนหลังคนขี่ สำหรับแขนและมือที่อิงถังน้ำมันไว้นั้น ให้ออกแรงดัน เพื่อพยุงลำตัวเฉพาะเวลาที่รถชลอหรือกดเบรก
ภาพที่ 7 ประเภทจับเอวแล้วเอนตัวไปด้านหลัง
แบบนี้ ก็ใช้ไม่ได้และอันตรายเวลาที่คนขี่ต้องเร่งแซงหรือเปิดคันเร่ง แรงกระชากจะทำให้คนซ้อนต้องดึงกระตุกคนขับ และมักจะพาให้ เสียหลักไปด้วย หรือไม่ผู้ซ้อนท้ายอาจเสียหลักร่วงจากรถไปเอง
อีกวิธีหนึ่งถ้าหากรถคันนั้นมีหูจับท้าย ตามภาพที่ 10 ผู้ขับขี่อาจใช้วิธีจับถังไว้ข้างหนึ่ง และอีกมือหนึ่งจับหูจับท้าย ซึ่งมีข้อควรจำนิดหน่อยสำหรับการนั่งซ้อนด้วยวิธีนี้ คุณจะมีเปลี่ยนข้างบ้าง อาจจะทุกๆ 10 นาที ไม่งั้นแล้วอาจจะทำให้กล้ามเนื้อยต้องเกร็งตัวนานเกินไป
ข้อควรจำเมื่อต้องเป็นซ้อนท้าย
การเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในขณะที่ซ้อนท้ายควรทำเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะการย้ายสะโพก เพราะสะโพกของเราคือจุดรวมน้ำหนักของร่างกาย การย้ายตะโพกของคนซ้อนไม่ว่าจะเป็นขณะรถเอียงเข้าโค้ง หรือขณะเบรกจะมีผลต่อการทรงตัวของรถทันที
2. จะเป็นการดีหากคนซ้อนท้ายจะมองไปในทิศทางเดียวกับคนขี่ เพราะจะทำให้คนซ้อนสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเตรียมตัวรับสถานะการณ์แบบไหน ยิ่งหากว่าคุณรู้มือกันแล้ว คนซ่อนจะสามารถอ่านการตัดสินใจของคนขี่ได้อย่างแม่นยำ และผู้ขับขี่แทบจะไม่มีความรู้สึกเลยว่ามีคนซ้อนท้ายอยู่
3. อย่าพยายามใช้การโหน
หรือถ่วงน้ำหนักช่วยคนขี่เวลาที่เราเอียงเข้าโค้ง เพราะการถ่วงน้ำหนักถ้าผิดจังหวะ มากหรือน้อยเกินไป อาจจะทำให้รถแหกโค้งได้ง่ายมาก ดังนั้นดีที่สุดคือนั่งสบายเอียงไปเป็นแนวเดียวกับตัวรถ และไม่ต้องเกร็งลำตัว ถ้ารู้สึกว่ารถเอียงมากให้ใช้วิธีย่อตัวหมอบอยู่หลังผู้ขับขี่ และใช้สายตามองข้ามไหล่คนขี่ไปในทิศทางเดียวกับโค้ง
4. ใช้ต้นขาหนีบตะโพกของผู้ขับ
โดยไม่ให้ตะโพกของเราเลื่อนไปหาคนขี่ โดยเฉพาะเวลาเบรก ยิ่งเบรกแรงให้บีบเน้นขึ้น และแตะไว้เบาๆ ไม่ต้องออกแรงเวลาไม่มีอุปสรรคข้างหน้า
5. เวลาขับรถขึ้นเขา
ผู้ซ้อนท้ายควรโน้มลำตัวท่อนบนไปด้านหน้า และขณะเดียวกันถ้าเป็นการขับรถลงจากเขา ให้ใช้การเลื่อนตะโพกไปด้านหลัง และกดตัวให้ต่ำลงจะเป็นการช่วยถ่วงน้ำหนักให้รถทรงตัวได้ดีขึ้น
6.เมื่อเจอทางที่ขรุขระ
ควรเอามือจับถังทั้งสองข้างและยกตะโพกขึ้นไม่ให้ก้นติดเบาะ (ไม่ต้องยกสูง) จนกว่าจะผ่านพื้นขรุขระ หรือเนินกระโดดไปก่อน
7.กรณีที่รถเสียหลัก ซึ่งโดยมากมักจะเป็นตอนจดรถหรือหยุดรถคนซ้อนท้ายไม่ควรใช้วิธีกระโดดลงจากรถ แต่ควรใช้วิธีย่อตัวยืดขาข้างที่อยู่ไกล้พื้นที่สุด ( โดยมากเป็นข้างที่รถกำลังจะล้ม ) ลงแตะพื้นจนเต็มเท้าก่อนค่อยดึงขาอีกข้างออกจากพักเท้า ถ้ารถยังไม่ล้ม ให้ใช้ตะโพกดันข้างรถไว้ถ้ารถยังไม่ล้ม อาจจะช่วยกู้สถานะการณ์ก่อนที่รถจะล้มไปจริงๆได้
การลงจากรถ
ตอนที่อันตรายและเสี่ยงต่อการพาให้รถล้มกลิ้งนั้นตอนที่คนซ้อนจะลงจากรถ เสี่ยงพอๆกับการขึ้นรถ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีโดยเฉพาะคนซ้อนท้ายที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ขับขี่
ขั้นตอนการลงจากรถนั้น เราทำย้อนกระบวนการกับตอนขึ้น เริ่มจากภาพที่ 12 ก่อนจะลงจากรถต้องมั่นใจว่าคนขี่รถอยู่ในท่าทางที่พร้อมแล้ว ง่ายที่สุดก็คือการถาม หรือวิธิเดิมคือเอามือแตะหัวไหล่ทั้งสองเข้าสักครูหนึ่งเพื่อเป็นการเตือนคนขี่ จากนั้นออกแรงจากขายืดตัวขึ้น ตะหวัดส้นเท้าขวาขึ้นมาเอาหัวเข่าขึ้นมาพักบนเบาะ
จากนั้นเอามือขวาย้ายจากหัวไหล่ มาจับที่หูจับหรือยันที่เบาะท้าย แล้วย่อตัวตัวลงด้วยขาซ้ายที่ยังวางพักเท้าอยู่
ขั้นสุดท้ายค่อยๆ ย้ายน้ำหนักทั้งหมดมาไว้ที่ขาซ้าย ซึ่งยังวางอยู่บนพักเท้า แล้วค่อยเลื่อนเข้าขวามาริมเบาะ และปล่อยขาขวาลงมา โดยให้เท้าขวาสัมผัสพื้นเต็มเท้าจากนั้น ค่อยย้ายน้ำหนักจากขาซ้ายที่อยู่บนพักเท้ามาไว้ที่ขาขวา จากนั้นค่อยปล่อยขาซ้ายลงมายืน และปล่อยมือที่จับหัวไหล่คนขี่ และเบาะท้ายก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
ข้อควรระวังตอนลงจากรถ
1. ต้องมั่นใจก่อนว่าคนขี่นั่นรับรู้แล้วว่าเราจะลงจากรถ
2.ไม่ต้องรีบร้อนกระโดนลงจากรถ
3.ให้ลงจากด้านซ้ายเป็นหลัก และก่อนลงจากรถให้มองด้านหลังรถ และพื้นที่จะลงเสียก่อนว่าปลอดภัย
โดยหลักการขับขี่แล้ว "การขี่คนโดยไม่มีคนซ้อนท้ายนั้นปลอดภัยกว่า" .... แต่เราไม่สามารถเลือกได้หลักพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะช่วยให้การเป็นคนซ้อนท้ายมีความสุขมากขึ้น ขณะที่คนขี่เองก็ไม่หวาดระแวงว่าผู้ซ้อนท้ายของเขาจะพาให้เกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า
หวังว่าเทคนิคในตอนนี้จะช่วยให้คุณนำไปใช้ได้ในการเดินทางจริง และเพิ่มความสนุกสนาน ปลอดภัยทั้งคนขี่และคนซ้อนนะครับ....
|