บทความนี้ผมได้รับ Forward mail มาจากเพื่อนรุ่นพี่ที่รู้จักกันแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มากสำหรับพวกเรา เลยตามไปหาข้อมูลเพิ่มจนเจอแหล่งต้นตอของข้อมูล คือเว็บของสถาบันหมวกนิรภัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งข้อมูลที่ผมนำมาลงในบทความนี้จะเป็นในส่วนของ มาตรฐานในการทดสอบหมวกนิรภัย (ที่คาดว่าหลายๆ คนคงยังหาคำตอบไม่ได้)
มาตรฐาน SNELL
SNELL Memorial Foundation – ตั้งอยู่ที่ Sacramento, California สหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยมิได้ หวังผลกำไรทางการค้าแต่ดำเนินกิจการเพื่อสวัสดิภาพของผู้ขับขี่ทุกประเภท มิใช่แต่เฉพาะผู้ขับขี่รถแข่งเท่านั้น โดยเน้นที่นโยบายที่จะคิดค้นแนวทางง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบหมวกกันน็อกด้วยมาตรฐานสูง นอกจากนี้ยังทบทวนมาตรฐานที่กำหนดไว้ใหม่ทุก 5 ปี และจะเข้มงวดมากขึ้นทุกครั้ง ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะที่ไม่มีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆมาตรฐานของ SNELL นี้มีเป้าหมายอยู่ที่การป้องกันอันตรายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงได้ตั้งเงื่อนไขในการทดสอบหมวกกันน็อกด้วยมาตรฐานสูง
เหตุผลที่ต้องปรับมาตรฐานทุกๆ 5 ปี
มาตรฐาน SNELL จะปรับเปลี่ยนใหม่ทุก 5 ปี และแต่ละครั้งจะเข้มงวดขึ้นด้วย ผู้ผลิตหมวกกันน็อกจึงต้องปรับปรุงวิธีผลิตให้ ได้มาตรฐานและหากรอให้มีการประกาศมาตรฐานเสียก่อนแล้วจึงลงมือผลิต ก็จะไม่ทันป้อนตลาด ผู้ผลิตจึงใช้ทดสอบหมวกในการ ผลิตโดยเพิ่มความเข็มงวดมากกว่ามาตรฐานปัจจุบัน เอาไว้ก่อนหลายเปอร์เซนต์ ซึ่งหากไม่ผ่าน ก็อาจสรุปได้เลยว่า ไม่ควรยื่นขอคำรับรองมาตรฐานจาก SNELL การปรับมาตรฐานให้สูงขึ้นทุก 5 ปีนี้สร้างความกดดันให้กับผู้ผลิตพอ ๆกับความท้าทายก็ว่าได้
ผู้ผลิตที่ต้องการคำรับรองมาตรฐานจาก SNELL จะส่งตัวอย่างสินค้า (ทุกขนาดในแต่ละรุ่นและหลายชิ้นในแต่ละขนาด) ไปรับการทดสอบ สินค้าที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับ SNELL License และ SNELL Label และ SNELL Label จะถูกนำ ไปปิดที่สินค้าทุกชนิด
มาตรฐาน SNELL ใหม่ "SNELL M2000"
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของ "SNELL M2000" คือขอบเขตการทดสอบตำแหน่งหน้าผากจะต่ำลงมา 10 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับ "SNELL M95" เป็นการขยายขอบเขตของการทดสอบขยายขึ้นถึงส่วนของหน้าต่างของหมวกกันน็อก เพื่อที่จะผ่านการทดสอบ "SNELL M2000" ก็จะต้องเพิ่มความสามารถในการดูดซับการกระแทกที่บริเวณใกล้ๆหน้าผาก
การทดสอบมาตรฐาน SNELL1 การทดสอบการดูดซับแรงกระแทก |
|
|
Anvil แบบแบนราบ
ทิ้งตำแหน่งเดียวภายในขอบเขตทดสอบ จากความสูง 3.06 เมตร (จะเกิดพลังงาน 150 จูล) 1 ครั้ง คราวต่อไปทิ้งอีก 1 ครั้งที่ตำแหน่งเดิม จากความสูง 2.24 เมตร (จะเกิดพลังงาน 110 จูล) ตอนนี้มีอัตราความเร็วที่เพิ่มที่หุ่นจำลองศีรษะ ไม่เกิน 2940 (300G) การทดสอบผ่าน |
Anvil แบบนูนครึ่งวงกลม
เป็นหมวกกันน็อกที่ต่างกับแบบที่ 1 ทิ้งตำแหน่งเดียวภายในขอบเขตทดสอบจากความสูง 3.06 เมตร 1 ครั้งจากความสูง 2.24 เมตร ตอนนี้อัตราความเร็วที่เพิ่มที่หุ่นจำลองศีรษะไม่เกิน 2940 (300G) การทดสอบผ่าน |
การทดสอบมาตรฐาน SNELL 2 การทดสอบต้านทานการทะลุผ่าน
การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความแข็งแรงของหมวกกันน็อกต่อวัตถุปลายแหลม อย่างเช่น ส่วนที่นูนขึ้นมาที่บนพื้นผิวถนนข้างถนน และบันไดของรถจักรยานยนต์ เป็นต้น หมวกกันน็อกจะต้องสกัดกั้น Striker ที่จะมาสัมผัสหุ่นจำลองศีรษะ
"การที่ปลายแหลมของ Striker ไม่สัมผัสหุ่นศีรษะถือว่าการทดสอบผ่าน"
|
วิธีทดสอบ : ทิ้ง Striker น้ำหนัก 3 กิโลกรัม ลงมาจากที่สูง 3 เมตร
- ทิ้ง Striker ลงมาในแนวดิ่งตั้งฉาก โดยมีท่อและเส้นลวดเป็นตัวนำทาง
- Striker เป็นลูกตุ้มเหล็กปลายแหลมน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ทิ้งลงมาที่หมวกกันน็อก
- สวมหมวกกันน็อกบนหุ่นศีรษะจำลอง ซึ่งเตรียมไว้เพื่อการทดสอบการต้านทานการทะลุผ่าน วางหุ่นศีรษะจำลองไว้คงที่บนแท่นทดสอบ พอ Striker สัมผัสถูกหุ่นศีรษะจำลอง คลื่นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านส่งข้อมูลมาที่คอมพิวเตอร์ |
การทดสอบมาตรฐาน SNELL 3 การทดสอบสายรัดคาง
การทดสอบนี้จะทดสอบความแข็งแรงของสายรัดคาง เนื่องจากเกรงว่าเวลาที่ล้มหรือคว่ำ สายรัดคางจะขาด ยืด ทำให้หมวกกันน็อกหลุดออกไป ดังนั้นการทดสอบสายรัดคางก็จำเป็น
"การที่สายรัดคางยืดน้อยกว่า 30 มิลลิเมตรและสายรัดคางไม่หลุด จากหมวกกันน็อค ถือว่าการทดสอบผ่าน"
|
วิธีทดสอบ : แขวนลูกตุ้มหนัก 39 กิโลกรัมไว้ที่สายรัดคางและปล่อยทิ้งลงมา 0.12 เมตร วัดว่าสายรัดคางจะยืดประมาณเท่าไหร่
- วางหุ่นศีรษะจำลองไว้ที่คงที่ สวมหมวกกันน็อคและรัดสายรัดคางให้แน่น แขวนลูกตุ้มที่สายรัดคาง
- ทิ้งลูกตุ้มหนัก 38 กิโลกรัมลงมา 0.12 เมตร เพิ่มแรงดึงจากภายนอก
- วัดปริมาณที่สายรัดคางยืด |
การทดสอบมาตรฐาน SNELL 4 การทดสอบ Roll Off
การทดสอบนี้เป็นการทดสอบการเพิ่มแรงดึงเพื่อที่จะถอดหมวกกันน็อคแล้ว หมวกกันน็อคไม่หลุดง่ายๆ วิธีทดสอบ : เกี่ยวตะขอที่หมวกกันน็อค ที่ปลายตะขอแขวนลูกตุ้มน้ำหนัก 4 กิโลกรัม ทิ้งลงมา 0.6 เมตร
"การที่หมวกกันน็อคไม่หลุดจากหุ่นศีรษะถือว่าผ่านการทดสอบ"
|
วิธีทดสอบ : เกี่ยวตะขอที่หมวกกันน็อค ที่ปลายตะขอแขวนลูกตุ้มน้ำหนัก 4 กิโลกรัม ทิ้งลงมา 0.6 เมตร
- สวมหมวกกันน็อคที่หุ่นศีรษะจำลอง รัดสายรัดคางให้แน่น แขวนตะขอที่หมวกกันน็อค เป็นอันว่าเตรียมการเรียบร้อย
- ยึดหุ่นศีรษะจำลองไว้ที่ Stay ที่ยื่นออกมาจากผนัง หมุนทิศทางของหุ่นศีรษะจำลองทดสอบ Roll Off ทั้งจากด้านหน้าและจากด้านหลัง
- ทิ้งลูกตุ้มหนัก 4 กิโลกรัม ลงมา 0.6 เมตร จะกระชากตะขอด้วยแรงชนกับ Stopper |
การทดสอบมาตรฐาน SNELL 5 การทดสอบส่วนของคาง
การทดสอบลักษณะเฉพาะของ SNELL เป็นการทดสอบความแข็งแรงของส่วนคาง เวลาชนส่วนของคางจะโค้งด้วยแรงกระแทกจะทดสอบความแข็งแรงเพื่อที่จะไม่ทำให้ส่วนของใบหน้าเป็นแผล หมวกกันน็อกที่มีส่วนของคางที่เป็นอิสระและจะเคลื่อนที่ได้ก็ เป็นข้อบังคับของการทดสอบนี้
" ถ้าระดับความโค้งต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร ถือว่าผ่านการทดสอบ "
|
วิธีทดสอบ : ทิ้ง Striker หนัก 5 กิโลกรัม จากความสูง 0.6 เมตร ลงมาที่ส่วนคาง
- ทิ้ง Striker ลงมาในแนวดิ่งตั้งฉาก โดยมีท่อและเส้นลวด เป็นต้น เป็นตัวนำทาง
- Striker เป็นลูกตุ้มหนัก 5 กิโลกรัม ทิ้งลงมาที่หมวกกันน็อค
- ยึดหมวกกันน็อกไว้ที่แท่นทดสอบอย่างแน่นหนา - วัดระดับความโค้งของคาง |
มาตรฐาน JIS (ใหม่)
JIS คืออะไร ??
- มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards) คือมาตรฐานประเทศญี่ปุ่นที่กำหนดขึ้นตามกฎหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐาน JIS นี้กำหนดขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานคุณภาพและให้เครื่องหมาย JIS แก่สินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้มาตรฐาน JIS ได้มีการกำหนดขึ้นอย่างเหมาะสมกับการพัฒนาการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและป่าไม้
- มาตรฐาน JIS ของหมวกกันน็อค ที่เรียกว่า "มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หมวกนิรภัยสำหรับรถยนต์" ได้มีการกำหนดมาตรฐานของคุณสมบัติและประสิทธิภาพของหมวกกันน็อค โดยได้ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง(เช่น ตำรวจ แพทย์ กระทรวงพาณิชย์ สมาคมความปลอดภัยทุกแห่ง ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้อง ฯ) โดยมีการจัดการประชุมกรรมการผู้เชี่ยวชาญหมวกนิรภัยและการประชุมกลุ่มอุปกรณ์นิรภัยที่ปลอดภัยทางการแพทย์ สินค้าที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน JIS จะได้รับการติด " เครื่องหมาย JIS "
มาตรฐาน JIS ที่ปรับแก้ไขใหม่เดือนมีนาคม ปี 2543
มาตรฐาน JIS ของหมวกกันน็อค ที่เรียกว่า "มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หมวกนิรภัยสำหรับรถยนต์" ได้มีการปรับแก้ไขใหม่เป็น "มาตรฐาน JIS ใหม่" เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 โดยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นและจากการปรับแก้ไขมาตรฐานนี้ ทำให้วิธีการทดสอบหมวกกันน็อคได้ถูกปรับเปลี่ยนตามแบบมาตรฐานสากล นอกจากนี้มาตรฐาน JIS ใหม่จะไม่มีการแบ่งเป็นประเภท A, ประเภท B, ประเภท C แต่จะเป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวที่เรียกว่า "รถจักรยานยนต์สองล้อ" นอกจากนี้มาตรฐานของหมวกกันน็อคแบบ Half หรือประเภทA ในมาตรฐาน JIS เก่า นั้นได้ถูกแยกออกไป ไว้ในมาตรฐานเฉพาะซึ่งอยู่ใน "ฉบับเพิ่มเติม"
|
ฉบับเพิ่มเติม
เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคแบบHalf และแบบ Semi jet
"ผมเป็นหมวกกันน็อคที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กต่ำกว่า125 cc ห้ามใช้ตอนขี่รถจักรยานยนต์ ขนาดใหญ่นะครับ"
|
|
JIS T 8133:2000
เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคแบบ Jet และแบบ Full face
“ผมเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่รับผิดชอบศตวรรษใหม่ของประเทศ ญี่ปุ่นครับ"
|
การทดสอบมาตรฐาน JIS I ทดสอบการดูดซับแรงกระแทก
ใช้วิธีการทดสอบตามมาตรฐานสากล
มาตรฐาน JIS เก่านั้น ได้ทำการทดสอบโดยวิธีเฉพาะของ JIS โดยทำการทดสอบแบบทดสอบที่ 1 ซึ่งทิ้งหมวกกันน็อคจากที่สูง 1.83 เมตร 2 ครั้งติดต่อกัน และทำการทดสอบแบบทดสอบที่ 2 ซึ่งทิ้งหมวกกันน็อคจากที่สูง 1.38 เมตร 2 ครั้งติดต่อกัน โดยใช้ Anvil ที่แตกต่างกับแบบทดสอบที่1 แต่จากการแก้ไขมาตรฐานใหม่ในครั้งนี้ มาตรฐาน JIS ใหม่นั้น ได้เปลี่ยนการทดสอบเป็นแบบที่เป็นที่นิยมกันในโลก คือ ทิ้งหมวกกันน็อคจากที่สูง 2.5 เมตร 1 ครั้ง หลังจากนั้นให้ลดความสูงมาอยู่ที่ 1.28 เมตร แล้วทิ้งหมวกกันน็อคให้ตกที่จุดเดิมอีกครั้งหนึ่ง
การทดสอบความทนทานต่อการทะลุผ่าน เมื่อความสูงของสิ่งที่หล่นใส่เปลี่ยนไป
มาตรฐาน JIS ใหม่นั้น การทดสอบความทนทานต่อการทะลุผ่านนั้น ได้กำหนดตำแหน่งของ Striker ที่หล่นใส่ไว้ที่ความสูง 2 เมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลต่ำกว่ามาตรฐาน JIS เก่าที่กำหนดไว้ที่ 3 เมตร
การทดสอบมาตรฐาน JIS II ทดสอบประสิทธิภาพความทนทานต่อการทะลุผ่าน การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความแข็งแรงของหมวกกันน็อคต่อส่วนประกอบของรถที่มีลักษณะปลายแหลม เช่น Step ของรถจักรยานยนต์ วัตถุที่มีส่วนที่ยื่นออกมาซึ่งอาจมีอยู่บนถนนหรือข้างถนน หมวกกันน็อคต้องสามารถป้องกันไม่ให้ Striker โดนหุ่นจำลองศีรษะได้
"เงื่อนไขของการสอบผ่านการทดสอบ คือ ปลายแหลมของ Striker ไม่สัมผัสหุ่นจำลองศีรษะ"
|
วิธีการทดสอบ
ทำการทดสอบโดยทิ้ง Striker น้ำหนัก 3 กิโลกรัม ตกใส่หมวกกันน็อคจากที่สูง 2 เมตร (เครื่องทิ้ง Striker) Striker จะหล่นใส่หมวกกันน็อคในแนวดิ่งตามแนวท่อหรือเส้นลวดนำ (Striker) คือตุ้มน้ำหนักเหล็กปลายแหลมน้ำหนัก 3 กิโลกรัม (หมวกกันน็อคที่ใช้ทดสอบ) สวมหมวกกันน็อคให้กับหุ่นจำลองศีรษะที่ใช้ทดสอบความทนทานต่อการทะลุผ่าน ซึ่งยึดติดแน่นอยู่กับฐานทดสอบ เมื่อ Striker สัมผัสกับหุ่นจำลองศีรษะ กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านและส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ |
ความสำคัญของประสิทธิภาพความทนทานต่อการทะลุผ่าน
ภาพถ่ายขวามือ เป็นหมวกกันน็อคที่นักแข่งรถคุณฟูจิฮาร่า คะทสึอะคิ นักแข่งรถจักรยานยนต์สองล้อ สวมตอนที่รถของเขาพลิกคว่ำระหว่างการแข่งขัน ตัวเขา ม้วนตัวอยู่กับตัวรถ วัตถุปลายแหลมที่คิดว่าน่าจะเป็นส่วนประกอบของ Swing arm แทงทะลุหมวกกันน็อคของเขา ซึ่งอุบัติเหตุที่ว่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในถนนทั่วไป ดังนั้นประสิทธิภาพความทนทานต่อการทะลุผ่านจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การทดสอบมาตรฐาน JIS II ทดสอบสายรัดคาง
การทดสอบนี้เป็นการตรวจสอบความแข็งแรงของสายรัดคาง ด้วยแรงกระแทกขณะที่รถพลิกคว่ำสายรัดคางอาจจะหลุดหรือยืด ซึ่งจะทำให้หมวกกันน็อคหลุดจากศีรษะ ดังนั้นการทดสอบสายรัดคางจึงเป็นสิ่งสำคัญ
"เงื่อนไขของการสอบผ่านการทดสอบ คือ สายรัดคางยืดด้วยแรงกระแทกได้ไม่เกิน 35 mm นอกจากนี้ในตอนที่เสร็จสิ้นการทดสอบแล้ว การยืดตัวของสายรัดคางต้องไม่เกิน 25 mm"
|
วิธีการทดสอบ
ทิ้งลูกตุ้มน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหน่วยที่จะทำให้เกิดการกระแทกที่ติดไว้ที่ปลายสายรัดคาง โดยทิ้งจากที่สูง 0.75 เมตร (เครื่องทดสอบ) ยึดติดหุ่นจำลองศีรษะไว้ แล้วสวมหมวกกันน็อคให้ รัดสายรัดคางห้อยหน่วยที่จะทำให้เกิดการกระแทกไว้ที่สายรัดคาง (Scale) ใช้วัดขนาดของการยืดตัวของสายรัดคาง (หน่วยที่จะทำให้เกิดการกระแทก) ทิ้งลูกตุ้มน้ำหนัก 10 กิโลกรัม จากที่สูง 0.75 เมตร สายรัดคางจะถูกดึงด้วยความแรงที่เกิดจากการกระแทกที่Stopper |
การทดสอบมาตรฐาน JIS IV ทดสอบการหลุดออกของหมวกกันน็อค
การทดสอบนี้เป็นการทดสอบดูว่าหมวกกันน็อคจะหลุดออกจากศีรษะอย่างง่ายดายหรือไม่ เมื่อมีแรงดึงหมวกกันน็อคให้หลุดออก
"เงื่อนไขของการสอบผ่านการทดสอบ หมวกกันน็อคไม่หลุดจากหุ่นจำลอกศีรษะ"
|
วิธีการทดสอบ
เกี่ยวตะขอที่มีเส้นลวดติดอยู่ไว้ที่ส่วนหลังของหมวกกันน็อค แล้วม้วนเส้นลวดมาทางด้านหน้า เส้นลวด ซึ่งถูกดึงในแนวดิ่งด้วยรอกจะเชื่อมต่ออยู่กับหน่วยที่จะทำให้เกิดแรงกระแทก (ตะกร้า) น้ำหนักรวมของตะขอ + เส้นลวด + ตะกร้า ประมาณ 3 กิโลกรัม (หมวกกันน็อคที่ใช้ในการทดสอบ) สวมหมวกกันน็อคให้กับหุ่นจำลองศีรษะรัดสายรัดคาง เอาตะขอเกี่ยวไว้ (เครื่องทดสอบ) ยึดหุ่นจำลองศีรษะไว้ที่ฐานทดสอบ (หน่วยที่จะทำให้เกิดแรงกระแทก) ทิ้งตุ้มน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ที่อยู่ในตะกร้าจากที่สูง 0.5 เมตร ซึ่งตะขอจะถูกดึงด้วยแรงกระแทกที่ก้นตะกร้า |
|