|
|
CB400SF โมเดลแรก ปี92-93 ชื่อโค้ดมันคือ CB400SF2N เช็คได้ที่ตรงเฟรมใต้เบาะ ตอนนี้โมเดลนี้ยังเป็นที่นิยม สำหรับผู้ที่ยังต้องการเอสเอฟ ในรูปแบบมีทะเบียน
เลขคอของรุ่นนี้คือ NC31-1000000 ขึ้นไป เลขเครื่องคงไม่ต้องสนใจมาก เพราะว่า ป่านนี้อายุการใช้งานคงสูงพอที่จะต้องเปลี่ยนเครื่องแล้ว
ข้อดีของรถรุ่นนี้คือ ล้มแล้ว ไมล์ไม่ค่อยแตก เครื่องยนต์ทนทาน ดูแลรักษาง่าย
ข้อเสียคือ แผ่นชาร์จไม่ทนสักเท่าไหร่ เพราะว่าอยู่ตรงจุดที่อับลม ไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน และ เฟรมอ่อน ถ้าล้มแรง ๆ หรือชนแรง ๆ เปอร์เซ็นต์เฟรมคดจะมีสูงมาก
ข้อเสียที่สำคัญ ณ ปัจจุบันอีกเรื่องนึงก็คือ ความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ติดรถครับ ถ้าเป็นรถมีป้ายในบ้านเรา พวกท่อยางหม้อน้ำ ยางปากคาร์บู ซีลต่าง ๆ น่าจะหมดสภาพแล้วครับ |
โมเดลที่สองของเอสเอฟ คือปี 94 ตัวนี้ได้รับการเพิ่มเกจ์วัดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในเรือนไมล์ด้วย หรือคนไทยนิยมเรียกว่า ไมล์สามลูก ซึ่งถ้าล้มปุ๊บ ปวดกบาลปั๊บทันที เพราะว่า เกือบทั้งหมดจะเสื้อไมล์แตก (ราคาเสื้อไมล์ตกราว ๆ สองพันบาท)
และเอสเอฟ แบบมีทะเบียนแท้ ๆ สำหรับปี94นี้ ยังพอมีให้เห็นอยู่ แต่ก็ค่อนข้างน้อย ถ้าเลือกจะเล่นรถมีทะเบียน ความเห็นของผมคือ มันน่าเล่นกว่าตัวปี92-93 มีทะเบียนครับ
เลขคอคือ NC31-1200000 ขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-150-xxxx ขึ้นมา |
|
|
เอสเอฟ ปี94 ได้รับการแก้ไขเรื่อง ระบบจุดระเบิด และ เปลี่ยนลูกสูบใหม่ ดูได้จากภาพนะครับ จะเห็นได้ว่า กราฟระบบจุดระเบิด แตกต่างจากตัว92-93 มากทีเดียว |
ภายในท่อไอเสีย ก็ได้รับการขยายไส้ท่อใหม่ ให้ใหญ่กว่าเดิม อ้อ คาร์บูก็เปลี่ยนรหัสด้วยครับ จากตัว92-93 ที่ใช้ Keihin VP22A ก็เปลี่ยนเป็น VP22C |
เรือนไมล์สามลูก เป็นดังภาพ และ ตัวปี94 จะมีที่แขวนหมวกกันน็อคตรงมือจับท้ายเบาะด้วย มีสวิทช์ไฟฉุกเฉินที่ปะกับคันเร่ง และ ฝาครอบข้างใช้ Emblem แทนที่จะเป็นสติ๊กเกอร์ แต่ว่า ในปัจจุบัน คงหาปี94 ที่มีอุปกรณ์เป๊ะ ตามนี้ยากครับ |
|
|
ต่อมา เริ่มปี95 เอสเอฟ ได้รับการปรับปรุงใหม่อีกครั้งนึงเพื่อไปสู้กับ XJR400R ที่มีการปรับเสปค ไปใช้เบรคเบรมโบ้ และช็อคอัพหลังโอลินส์ โดยฮอนด้า ได้ออก เวอร์ชั่นอาร์ ที่มีการแก้ไขจากตัวแสตนดาร์ดปี94เกือบทั้งคัน และ เครื่องยนต์ได้รับการปรับปรุงฝาสูบ-เสื้อสูบใหม่ |
เครื่องยนต์บล็อคใหม่ สำหรับเวอร์ชั่นอาร์ ได้รับการขยายวาล์วใหม่ ให้ใหญ่กว่าเดิม คาร์บูชุดใหม่ขนาด 29มิล (ของเดิม 26มิล) ทำงานร่วมกับระบบจุดระเบิดแบบ PGM-IG
อัตราทดเกียร์ยังคงเดิมแต่เปลี่ยนอัตราทดขั้นสุดท้ายใหม่ โดยการเพิ่มฟันสเตอร์หลังอีก สามฟัน ทำให้เวอร์ชั่นอาร์ มีอัตราเร่งที่จี๊ดจ๊าด ผิดหูผิดตากับตัวธรรมดาเลยทีเดียว |
|
|
ท่อไอเสียแบบ 4-2-1 ถอดเปลี่ยนปลายท่อได้ ที่เฮดเดอร์เพิ่มช่อง Sub Tube
พอเปลี่ยนท่อไอเสียเป็นแบบนี้ ทำให้ เวอร์ชั่นอาร์ รวมไปถึงเวอร์ชั่นเอส ไม่สามารถติดตั้งขาตั้งคู่ได้ เนื่องจากติดท่อไอเสียที่เลื้อยผ่านกลางลำตัวรถ ทางฮอนด้าจึงไม่ได้เชื่อมจุดยึดสำหรับติดตั้งขาตั้งคู่มาให้ด้วย ใครไม่แน่ใจว่ารถของตัว เป็นเวอร์ชั่นอาร์ หรือ เอส แท้ ๆ ก็ให้ก้มดูที่ใต้ท้องรถ จะไม่มีจุดยึดขาตั้งให้ครับ |
โฉมหน้าอันหล่อเหลา (หรือเปล่า???) ของเวอร์ชั่นอาร์ ที่มาพร้อมกับโคมไฟแบบกระจายแสงพิเศษ
ตัวเรือนไมล์ของเวอร์ชั่นอาร์ จะคล้ายของตัวปี92-93 แต่ตรงที่เป็นเกจ์วัดความร้อนในตัวปี92-93 จะเปลี่ยนเป็นเกจ์วัดน้ำมันเชื้อเพลิงแทน (ตรงนี้ต้องขอบคุณน้องเบิร์ดที่ช่วยให้ความกระจ่างครับ) และเรือนวัดรอบมีตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 15,000รอบต่อนาที (เอสเอฟตัวแสตนดาร์ดมี 14,000รอบต่อนาที)
คันเกียร์ได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย ในตัวปี95 |
|
|
เฟรม เป็นอีกจุดนึงที่ทำให้เวอร์ชั่นอาร์ และ เวอร์ชั่นเอส รู้สึกว่าเข้าโค้งได้ดีกว่าตัวแสตนดาร์ด ลองเทียบดูเอาเองนะ ตัวเลขในวงเล็บเป็นของตัวแสตนดาร์ด
|
ช่วงล่างของตัวเวอร์ชั่นอาร์ ก็เป็นคนละตัวกับตัวแสตนดาร์ดนะครับ ค่าสปริงจะแข็งกว่า แต่ดูด้วยตาภายนอกจะไม่รู้ จนกว่าจะได้ลองขี่
รายละเอียด ของตัวแสตนดาร์ดปี 95 ให้ชมในภาพนะครับ
สังเกตุตรงคาร์บูนะครับ ว่าไม่มีกะเปาะสีดำ ที่เป็นตัวเซ็นเซอร์เช็คปีกผีเสื้อ และช็อคอัพหลังที่เหมือนตัวปี92-93 สปริงเป็นสีดำ |
เอสเอฟ ตัวแสตนดาร์ด ปี95 เลขคอคือ NC31-1300000 ขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-160-xxxx ขึ้นมา
ส่วนเวอร์ชั่นอาร์ เลขคอคือ NC31-135-xxxxขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-165-xxxx ขึ้นมา
สังเกตุนะครับ ว่า เลขตัวที่สามของเวอร์ชั่นอาร์ทั้งเฟรม และเครื่อง จะเป็นเลข 5 ก็เนื่องจากว่า มันเป็นคนละตัวกันกับตัวแสตนดาร์ดนั่นเอง (แรงกว่าจริง ๆ ขอบอก)
โค้ดที่ตัวถังบริเวณใต้เบาะสำหรับตัวแสตนดาร์ด คือ CB400SF2S
และ สำหรรับเวอร์ชั่นอาร์คือ CB400SF3S |
|
|
ชุดเบรคที่เหมือนปี92-94 ซึ่งถ้าใครชอบขี่โหด ๆ ขอแนะนำว่าให้เปลี่ยนผ้าเบรคเป็นเกรดเรซซิ่ง และใส่สาย stainless ถัก จะทำให้ฟิลลิ่งเบรคดีขึ้น |
เรือนไมล์ก็เหมือนปี94 ที่มีวัดรอบสูงสุดที่ 14000รอบต่อนาที ใครที่ใช้เวอร์ชั่นเอส ปี96 ระวังตรงจุดนี้ด้วยนะครับ
ลองดูว่าเรือนไมล์ของคุณ เป็นแบบนี้หรือเปล่า (มีเลขแค่14) เพราะมันจะรายงานรอบความเร็วไม่ตรงกับเครื่องยนต์ของเวอร์ชั่นเอสปี96 นะครับ |
|
|
คราวนี้มาเริ่มที่ตัวปี 96บ้าง ปีนี้เป็นปีเดียวที่ฮอนด้า ออกเอสเอฟ เวอร์ชั่นเอสมาถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือ ตอนต้นปี เดือนกุมภา ส่วนอีกครั้งนึงคือ ตอนปลายปี เดือนพฤศจิกา ซึ่งตัวที่ออกมาปลายปีนี้ ถือเป็นเวอร์ชั่นเอส ปี97-98นะครับ |
ตัวรถยังคงเหมือนเวอร์ชั่นอาร์ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเฟรม เครื่องยนต์ ท้าย แต่ที่เปลี่ยนไป มีดังนี้
1. เรือนไมล์ กลับมาใช้แบบสามลูก และไม่ใช้หน้ากากแล้ว
2. ช็อคอัพหลังเปลี่ยนรูปทรงใหม่
3. ระบบเบรคหน้า เปลี่ยนไปใช้แบบ สี่ลูกสูบเป็นครั้งแรก และมีการแก้ไขปรับปรุงจานเบรคใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัส
5. แผงพักเท้าแบบตาข่ายเปลี่ยนจากสีเงิน เป็นสีดำ
6. น้ำหนักรถ เบาลงไป 1กิโล เป็น 174กิโล (เวอร์ชั่นอาร์ 175กิโล) |
|
|
ชุดเบรคแบบ สี่ลูกสูบ จานเบรคปรับปรุงพื้นที่ผิวสัมผัสใหม่ ซึ่งคาลิปเปอร์ 4ลูกสูบชุดนี้ ประสิทธิภาพเยี่ยมมาก |
ส่วนตัวเครื่องยนต์ยังเหมือน เวอร์ชั่นอาร์ ปี95 ปลั๊กหัวเทียนเป็นสีแดง และช็อคอัพหลัง new look |
|
|
เรือนไมล์ของเวอร์ชั่นเอส ปี96 ตัวเลขเป็นสีขาวนะครับ จำไว้ให้แม่น ๆ ว่ามีตัวเลขถึง 15,000รอบต่อนาที |
|
คราวนี้มาดูเอสเอฟ ตระกูล NC31 รุ่นสุดท้ายกันดูบ้าง ซึ่งนับเป็นเอสเอฟ รุ่นที่สวย และครบเครื่องที่สุดเท่าที่ฮอนด้าเคยทำมาเลยทีเดียว (ไม่นับวีเทค ที่เป็น NC39 นะครับ) |
|
|
เอสเอฟ ตัวแสตนดาร์ด ปี96เลขคอคือ NC31-140-xxxx ขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-170-xxxx ขึ้นมา
ส่วนเวอร์ชั่นเอส เลขคอคือ NC31-145-xxxxขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-175-xxxx ขึ้นมา
โค้ดที่ตัวถังบริเวณใต้เบาะสำหรับตัวแสตนดาร์ด คือ CB400SF2T
และ สำหรับเวอร์ชั่น S คือ CB400SF3T
อย่างไรก็ดี เอสเอฟ ปี96 ถือว่า ดีกว่าเอสเอฟ ปี92-95 แต่ก็ยังดีไม่พออยู่ดี ถ้าใครอยากจะซื้อมาแต่ง ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าจะซื้อมาขี่แบบเดิม ๆผมว่า หาตัวปี97ขึ้นมาจะเวิร์คกว่าครับ |
|
|
|
|
เริ่มที่ตัวแสตนดาร์ดก่อน ดูเผิน ๆ ต่างกันเพียงแค่ แผงพักเท้า กับท่อไอเสีย แล้วก็เรือนไมล์เท่านั้นเองครับ แต่ดูรวม ๆก็นับว่าดูดีมาก |
|
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปสำหรับภายในเมื่อเทียบกับตัวก่อน ๆก็คือ เครื่องยนต์ครับ ฮอนด้าได้ปรับปรุงท่อไอดีใหม่ให้ยาวกว่าเดิม ปรับระบบจุดระเบิดใหม่ และทำไส้ท่อใหม่ให้มีขนาดสั้นลง |
|
- ระบบเบรคเปลี่ยนจากสองลูกสูบ มาเป็นสี่ลูกสูบครั้งแรก ในเวอร์ชั่น แสตนดาร์ด จานเบรคเปลี่ยนจากสีดำ มาเป็นสีทอง และเปลี่ยนทรงโรเตอร์ตัวในใหม่
- ช็อคอัพหลังเปลี่ยนมาใช้แบบเวอร์ชั่นเอสปี 96
- ท้ายใหม่ชิ้นเดียว สุดสวย ซึ่งตัวปี 92-96 สามารถแปลงมาใส่ได้ แต่ต้องหมดตังค์ราว ๆสี่ - ห้าพันบาท (ค่าท้าย พันห้า , ค่าชุดยึดท้าย พันห้า - สองพัน , ค่าแปลงเบาะ หนึ่งพัน )
|
|
คราวนี้มาดูเวอร์ชั่นเอส กันบ้าง มีจุดเด่นหลายอย่างเช่น
- ชุดเรือนไมล์ แบบตัวเลขและเข็ม สีแดง สวยมาก ๆ
- คาลิปเปอร์เบรคหน้าของเบรมโบ้
- กันสะเทือนหน้าแบบปรับความแข็งสปริงได้
- กันสะเทือนหลังยังคงเหมือนตัวเวอร์ชั่นเอส ปี96
ส่วนเลขคอ ของตัวแสตนดาร์ด เริ่มที่ NC31-150-xxxx เลขเครื่องเริ่มที่ NC23E-180-xxxx ขึ้นมา
ส่วนเวอร์ชั่นเอส เลขคอคือ NC31-155-xxxxขึ้นไป เลขเครื่อง เป็น NC23E-185-xxxx ขึ้นมา
โค้ดที่ตัวถังบริเวณใต้เบาะสำหรับตัวแสตนดาร์ด คือ CB400SF2V
และ สำหรับเวอร์ชั่น S คือ CB400SF3V
|
|
ราคาปัจจุบัน ยังคงป้วนเปี้ยนอยู่ราว ๆ เจ็ดหมื่นบาทขึ้นไป สำหรับรถอินวอยซ์ ส่วนตัวทะเบียนแท้ ๆ พุ่งกระฉูดไปอยู่ที่แสนกลาง ๆ ถ้าเงินไม่ใช่ปัญหา มันคงยังน่าเล่นมากอยู่ดีครับ |
|
และ ก็ยังมีตัวพิเศษ ฉลองครบรอบ 50ปี ของฮอนด้าด้วย โดยจะเป็นเวอร์ชั่นเอส ทำสีพิเศษ ขาว-แดง มี Emblem ที่ข้างรถ ล้อเป็นสีทอง
ผลิตจำนวนจำกัด เพียงแค่500คันในโลก
ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่19 มิถุนายน 1998 |
|
ถือว่ารุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายของตระกูลซูเปอร์โฟร์ NC31 จริง ๆ เพราะว่า เดือนกุมภาพันธ์ ปีต่อมา ฮอนด้าก็ขึ้นเจเนเรชั่นใหม่ ของซูเปอร์โฟร์ เป็น NC39 และปรับปรุงทุก สองปี จนแตกต่างกับตัวแรกเมื่อปี92อย่างสิ้นเชิง |
|
ต่อไป มาว่ากันถึงของแต่งยอดนิยม ที่หาได้ยากเย็นบ้าง ง่ายบ้างในเมืองไทย
สิ่งที่เปลี่ยนกันมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ท่อไอเสีย
มีให้เลือกหลายแบบ หลากยี่ห้อ แต่ดัง ๆ ก็ไม่พ้น โมริวากิ , โยชิมูระ , และ TSR
ราคาว่ากันที่สภาพ และ ความต้องการของสินค้าในขณะนั้น แต่เริ่มที่ประมาณ 4000ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นปลายท่ออย่างเดียว หรือทั้งยวง
ในภาพเป็นของโยชิมูระ รุ่น Titan Cyclone ปลายเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ เบิกใหม่ ราคาประมาณ 87000เยน และเบากว่าท่อเดิมประมาณ สามกิโลกรัม |
|
ของแต่งสุดฮิตที่ตามมาคือ พักเท้าแต่ง ที่มีเข้ามามากที่สุด น่าจะเป็นของ Coerce และ อาจจะมีของพวก โมริวากิ , โยชิมูระ , BEET japan , ISA , TSR หลง ๆเข้ามาบ้างแต่ก็นับว่าน้อย
ข้อเสียของพักเท้าแต่งของ Coerce คือ ต้องซื้อพักเท้าคนซ้อนแยกต่างหาก ซึ่งในเมืองไทย ของมือสองหายากมากกกกกกกกกกกกกก
ราคาพักเท้าคู่หน้า มือสองตกประมาณ สองพันกลาง ๆขึ้นไป ส่วนพักเท้าหลังอยู่ประมาณ หนึ่งพันบาทขึ้นไป
ถ้าใจร้อน รอไม่ไหว จะสั่งใหม่ ทั้งชุด หน้า-หลัง ตกประมาณ 40000เยน (คู่หน้า 31000เยน คู่หลัง 9000เยน) สำหรับของ Coerceนะ
พอใส่แล้ว ตำแหน่งท่านั่งจะดีขึ้น (ถอยไปข้างหลัง31มม. และสูงขึ้น28 มม.)
เหมาะสำหรับคนสูงไม่เกิน 170 ไม่งั้นเข่าจะไปชนขอบถัง
|
|
อีกชิ้น ที่น่าจะหามาใส่กัน คือ Stabilizer อันนี้ก็มีหลายยี่ห้ออีกเช่นกัน แต่เห็นเยอะสุด ก็เป็นของ Coerce เหมือนเคย เบิกใหม่ ตกประมาณ 12000เยน แต่ของมือสองอยู่ประมาณ พันกลาง ๆขึ้นไป |
|
ใส่พักเท้าแต่ง แล้วจะดูดีอย่างนี้.....อิ อิ อิ |
|
ของแต่งติดกาย เอสเอฟชิ้นสุดท้าย คือ แฮนเดิ้ลบาร์ มีมากมายหลากยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น Hardy , Posh , Renthal , Hurricane และมีหลายแบบให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น Low , Middle , High แล้วแต่สรีระของผู้ขับขี่
ราคาอยู่ที่ประมาณ สองพันห้าขึ้นไป สำหรับของใหม่ และ |
|
จริง ๆยังมีของแต่งอีกมากมายสำหรับเอสเอฟ มีให้ยำกันทั้งคัน แต่ขอแค่นี้ก่อนละกันครับ
ส่วนเรื่อง ข้อมูลทางเทคนิค และการบำรุงรักษา ผมจะทยอยลงให้อีกทีละกันนะครับ |